วันพฤหัสบดีที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555



ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศ
- รูปแบบเทคโนโลยีสารสนเทศในปัจจุบัน
- พฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
- การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับการเรียนการสอน

รูปแบบเทคโนโลยีสารสนเทศในปัจจุบัน

เทคโนโลยีสารสนเทศสามารถจำแนกตามลักษณะการใช้งานได้เป็น 6 รูปแบบ ดังต่อไปนี้คือ
1. เทคโนโลยีที่ใช้ในการเก็บข้อมูล เช่น ดาวเทียมถ่ายภาพทางอากาศ, กล้องดิจิทัล, กล้องถ่ายวีดิทัศน์, เครื่องเอกซเรย์
2. เทคโนโลยีที่ใช้ในการบันทึกข้อมูล  เป็นสื่่อบันทึกข้อมูลต่าง ๆ เช่น เทปแม่เหล็ก, จานแม่เหล็ก, จานแสงหรือจานเลเซอร์, บัตรเอทีเอ็ม
3. เทคโนโลยีที่ีใช้ในการประมวลผลข้อมูล ได้แก่ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ทั้งฮาร์ดแวร์ และ ซอฟต์แวร์
4. เทคโนโลยีที่ใช้ในการแสดงผลข้อมูล เช่น เครื่องพิมพ์, จอภาพ, พลอตเตอร์ ฯลฯ
5. เทคโนโลยีที่ใช้ในการจัดทำสำเนาเอกสาร เช่น เครื่องถ่ายเอกสาร, เครื่องถ่ายไมโครฟิล์ม
6. เทคโนโลยีสำหรับถ่ายทอดหรือสื่อสารข้อมูลได้แก่ ระบบโทรคมนาคมต่าง ๆ เช่น โทรทัศน์, วิทยุกระจายเสียง, โทรเลข, เทเล็กซ์ และระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั้งระยะใกล้และระยะไกล

ตัวอย่างการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
     มีการนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในรูปแบบต่างๆ ทั้งในทางธุรกิจ และการศึกษา ดังตัวอย่างเช่น
- ระบบเอทีเอ็ม
- การบริการและการทำธุรกรรมบนอินเทอร์เน็ต
- การลงทะเบียนเรียน

พฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศคืออะไร
    การแสดงออกทางความคิดและความรู้สึกในการใช้รูปแบบของเทคโนโลยีทุกประเภท ที่นำมาประยุกต์ใช้ในกระบวนการจัดหา จัดเก็บ สร้างและเผยแพร่สารสนเทศในรูปแบบต่าง ๆ ได้แก่ ภาพ ข้อความ หรือ ตัวอักษร ตัวเลขและภาพเครื่อนไหว เป็นต้น
การใช้อินเตอร์เน็ต
    งานวิจัยเกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาพบว่า

     นักศึกษาส่วนใหญ่ใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อความบันเทิง เนื่องจากเห็นว่ามีความสะดวกในการติดต่อสื่อสารกับผู้อื่น ในขณะที่การใช้อินเตอร์เน็ตของนักศึกษาในระดับอุดมศึกษาส่วนใหญ่ใช้เพื่อการเรียนรู้ การติดตามข่าวสารของสถานศึกษา

ใช้อินเตอร์เน็ต ทำอะไรได้บ้าง
  งานวิจัยชี้ว่า นักศึกษาใช้อินเตอร์เน็ตในการสนทนากับเพื่อนๆ และการค้นข้อมูลจากห้องสมุด
นอกจากนี้งานวิจัยยังขี้ว่านักศึกษาส่วนใหญ่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศรูปแบบต่างๆ เพื่อเพิ่มพูนความรู้ และประกอบการทำรายงาน

สถาบันที่ที่มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
งานวิจัยพบว่า นักศึกษาส่วนใหญ่ใช้คอมพิวเตอร์ที่บ้าน และมีการใช้อินเตอร์เน็ตที่ห้องสมุดของสถาบัน
นักศึกษาส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีการใช้หรือมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศน้อย ในรูปแบบไหนบ้าง?
งานวิจัยชี้ว่า นักศึกษามีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเหล่านี้น้อย ได้แก่ ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ การเรียนรู้แบบออนไลน์หรือ e-Learning วีดีทัศน์ตามอัธยาศัย (Video on Demand) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ และบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน


การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับการเรียนการสอน
-การเรียนรู้แบบออนไลน์ (e-Learning)
-บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction-CAI) หรือ (Computer Aided Instruction)
-วีดีทัศน์ตามอัธยาศัย (Video on Demand - VOD)
-หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-Books)
-ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ (e-Library)

การเรียนรู้แบบออนไลน์ (e-Learning)
เป็นการศึกษา เรียนรู้ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์อินเตอร์เน็ต (Internet) หรืออินทราเน็ต (Intranet) เป็นการเรียนรู้ด้วยตัวเอง ตามความสามารถและความสนใจของตน โดยเนื้อหาของบทเรียนซึ่งประกอบด้วย ข้อความ รูปภาพ เสียง วิดีโอและมัลติมีเดียอื่นๆ จะถูกส่งไปยังผู้เรียนผ่านเว็บเบราว์เซอร์ (Web Browser) โดยผู้เรียนผู้สอนและเพื่อนร่วมชั้นเรียนทุกคน สามารถติดต่อปรึกษา แลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกันได้เช่นเดียวกับการเรียนในชั้นเรียนปกติ โดยอาศัยเครื่องมือการติดต่อสื่อสารที่ทันสมัยสำหรับทุกคน โดยผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ทุกเวลาและทุกสถานที่ (Learning for all : anyone, anywhere and anytime)

บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction-CAI) คือบทเรียนคอมพิวเตอร์ซึ่งนำเสนอสารสนเทศที่ได้ผ่านกระบวนการสร้างและพิจารณามาเป็นอย่างดี โดยมีเนื้อหาวิชาหรือสารสนเทศ แบบฝึกหัด การทดสอบและการให้ข้อมูลป้อนกลับให้ผู้เรียนได้ตอบสนองต่อบทเรียนได้ตามระดับความสามารถของตนเอง เนื้อหาวิชาที่นไเสนอจะอยู่ในรูปมัลติมีเดีย ซึ่งประกอบด้วย อักษร รูปภาพ เสียง และ/หรือ ทั้งภาพและเสียง ซึ่งมีพื้นฐานมาจากการนำหนักการเบื้องต้นทางวิตวิทยาการเรรยนรู้มาใช้ในการออกแบบโดดยอาศัยพฤติกรรมการเรียนรู้ (Learning Behavior) ทฤษฎีการเสริมสร้างแรง (Reinforcement Theory) ทฤษฎีการวางเงื่อนไขปฎิบัติ (Operant conditioning Theory ) ซึ่งถือว่าความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองและการเสริมสร้างแรงเป็นสิ่งสำคัญ โดยมีจุดมุ่งหมายนำผู้เรียนไปสู่การเรียนรุ้อย่างมีประสิทธิภาพซึ่งอาศัยการสอนที่มีการวางโปรแกรมไว้ล่วงหน้า เป็นการให้ผู้เรียนมีโอกาสเรียนรู้ได้ด้วยตนเองและมีผลย้อนหลังกลับทันทีและเรียนรุ้ไปทีละขั้นตอนอย่างเหมาะสมตามความต้องการและความสามารถของตน


วีดีทัศน์ตามอัธยาศัย (Video on Demand - VOD) คือ ระบบการเรียนดูภาพยนตร์ตามสั่งที่จะอำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้งานสามารถเลือกดูภาพยนตร์หรือข้อมูลภาพเคลื่อนไหวพร้อมเสียงได้ตามต้องการ ตามสโลแกนที่ว่า "To view what one wants, when one wants". โดยสามารถใช้งานนี้ได้จารเครือข่ายสื่อสาร (Telecommunication Networks) ผู้ใช้งาน ซึ่งอยู่หน้าเครื่องลูกข่าย (Video Client) สามารถเรียกดูข้อมูลที่เป็นภาพเคลื่อนไหวได้ทุกเมื่อตามต้องการและสามารถควบคุมข้อมูลวิดีโอนั้นๆ โดยสามารถย้อนกลับ (Rewind) หรือกรอไปข้างหน้า (Forward) หรือหยุดชั่วคราว (Pause) ได้เปรียบเสมือนการดูวิดีโอที่บ้านนั่นเองทั้งนี้เครื่องคอมพิวเตอร์ลูกข่ายไม่จำเป็นต้องดูข้อมูลเดียวกันกล่าวคือสามารถดูภาพยนตร์เรื่องเดียวกัน หรือต่างกันก็ได้

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-Books)
คือหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถอ่านได้ทางอินเทอร์เน็ต โดยมีเครื่องมือที่จำเป็นในการอ่านหนังสือประเภทนี้คือ ฮาร์ดแวร์ประเภทเครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์พกพาอื่นๆ พร้อมทั้งติดตั้งระบบปฎิบัติการหรือซอฟต์แวร์ที่ใช้อ่านข้อความต่างๆ ตัวอย่างเช่น ออร์แกไนเซอร์แบบพกพา พีดีเอ เป็นต้น ส่วนการดึงข้อมูล e-books ซึ่งจะอยู่บนเว็บไซต์ที่ให้บริการทางด้านนี้มาอ่านก็จะใช้วิธีการดาวน์โหลดผ่านทางอินเตอร์เน็ตเป็นส่วนใหญ่ ลักษณะไฟล์ของ e-books หากนักเขียนหรือสำนักพิมพ์ต้องการสร้าง e-books จะสามารถเลือกได้สี่รูปแบบ คือ Hyper Teat Markup Language (HTML) , Portable Document Format (PDF) , Peanut Markup Language (PML) และ Extensive Markup Language (XML)

ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ (e-Library)
เป็นแหล่งความรู้ที่บันทึกข้อมูลไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายและให้บริการสารสนเทศทางอิเล็กทรอนิกส์หรือผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

คุณลักษณะที่สำคัญของห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์มีดังนี้ คือ
1.การจัดการทรัพยากรสารสนเทศด้วยคอมพิวเตอร์
2.ความสามารถในการเข้าถึงสารสนเทศโดยทางอิเล็กทรอนิกส์
3.บรรณารักษ์หรือบุคลากรของห้องสมุดสามารถแทรกการติดต่อระหว่างผู้ใช้กับห้องสมุดได้ เพื่อช่วยเหลือผู้ใช้ได้โดยทางอิเล็กทรอนิกส์
4.ความสามารถในการจัดเก็บ รวบรวมและนำส่งสารสนเทศสู่ผู้ใช้โดยทางอิเล็กทรอนิกส์

วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

วิชาเทคโนโลยีสาระสนเทศและการสื่อสารสำหรับครู
Information and communication technology
รหัส PC 54504  3(2-2-5)


คำอธิบายรายวิชา

       ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เช่น ไมโครคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ระบบการสื่อสารข้อมูล ระบบเน็ตเวิร์ก ระบบซอฟต์แวร์ การจัดการทรัพยากรสารสนเทศ เครื่องมือการเข้าถึงสารสนเทศ ทักษะการเข้าถึงสารสนเทศ ฐานข้อมูลสารสนเทศ ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์และการอ้างอิง ฝึกปฏิบัติการ สามารถใช้คอมพิวเตอร์ขั้นพื้นฐานและใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้อย่างเหมาะสม

PC 54504 เทศโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร



ความหมายของสารสนเทศ
     (4) หน่วยความจำสำรอง (Secondary Storage Unit)


       สารสนเทศ หมายถึง ข่าวสารที่สำคัญ เป็นระบบข่าวสารที่กำหนดขึ้น และจัดทำขึ้นภายในองค์กรต่างๆ ตามความต้องการของเจ้าของหรือผู้บริหารองค์การนั้นๆ
      สารสนเทศ ตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า Information หมายถึง ความรู้ที่ได้จากการศึกษาค้นคว้า สารสรเทศเป็นความรู้และข่าวสารที่สำคัญที่มีลักษณะพิเศษ ทั้งในด้านการได้มาและประโยชน์ในการนำไปใช้ปฏิบัติ
สารสนเทศ มีความหมายตามที่ได้มีการให้คำจำกัดความที่ใกล้เคียงกัน ดังนี้
สารสนเทศหมายถึง ข้อมูลด้านปริมาณและคุณภาพ ที่ประมวล จัดหมวดหมู่ เปรียบเทียบ และวิเคาะห์แล้วสามารถนำมาใช้ได้ หรือนำมาประกอบการพิจราณา ได้สะดวกและง่ายกว่า
เทคโนโลยีสารสนเทศคืออะไร ?
      เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ ไอที ( IT ) เป็นเทคโนโลยีที่มีความสำคัญต่าสังคมในปัจจุบัน มีความเกี่ยวข้องกับการจัดเก็บ การประมวลผลและการแสดงผลสารสนเทศ
องค์ประกอบหลักของเทคโนโลยีสารสนเทศ
     เทคโนโลยีสารสนเทศ ประกอบด้วยองค์ประกอบหลัก 2 ส่วน คือ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และ เทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคม
1.เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
   คอมพิวเตอร์ จัดเป็นเทคโนโลยีหลักของเทคโนโลยีสารสนเทศในยุคปัจจุบัน เนื่องจากคอมพิวเตอร์มีคุณสมบัติครบถ้วนทั้งด้านการบันทึก การจัดเก็บ การประมวลผล การแสดงผล และการสืบค้นหาข้อมูลสารสนเทศ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์แบ่งเป็นเทคโนโลยีย่อยที่สำคัญได้ 2 ส่วน คือเทคโนโลยีฮาร์ดแวร์และเทคโนโลยีซอฟต์แวร์
1.1 เทคโนโลยีฮาร์ดแวร์ หมายถึง อุปกรณ์ทุกชนิดที่ประกอบขึ้นเป็นตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ที่ต่อพ่วงเพื่อเชื่อมโยงจำแนกตามหน้าที่การทำงานออกเป็น 4 ส่วน คือ
     (1) หน่วยรับข้อมูล
     (2) หน่วยประมวลผลกลางหรือซีพียู : CPU (Central Processing Unit)
     (3) หน่วยแสดงผลข้อมูล (Output unit)
1.2 เทคโนโลยีซอฟต์แวร์ (Software) หมายถึง โปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่ทำหน้าที่สั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามที่ผู้ใช้ต้องการ
ซอฟต์แวร์ตอมพิวเตอร์ 2 ประเภท คือ
     (1) ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software) หรือชุดคำสั่งที่ทำหน้าที่สั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งฮาร์ตแวร์และซอฟต์แวร์ทำงานตามคำสั่ง
     (2) ซอฟต์แวร์ประยุคต์ (Application Software) คือ ชุดคำสั่งที่ผู้ใช้ส่งเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานตามที่ผู้มช้ต้องการ


เทคโนโลยสื่อสารโทรคมนาคม
หมายถึง เทคโนโลยีที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารกันทั่วไป เช่น ระบบโทรศัพท์ ระบบดาวเทียม ระบบเครือข่ายเคเบิล และระบบสื่อสารอื่นๆ ที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารกัน

ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ
-     แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 4(2520-2524) การมีส่วนร่วมของเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา
- มีการจัดตั้งศูนย์ประสานงานและปฏิบัติการของระบบสารสนเทศเพื่อการศึกกษาขึ้น
- ใน แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 ก็ได้เห็นมีความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษามากขึ้น
- ใน แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 มีการจัดทำแผนหลัก เพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการศึกษา

  แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติข้างต้น ทำให้เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญต่อวงการการศึกษาของประเทศไทยมากขึ้น จะทำให้การศึกษาของชาติมีความเท่าเทียมทั่วถึง มีคุณภาพ และมีความต่อเนื่อง ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างคุ้มค่า


พัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา
ยุคที่ 1 การประมวลผลข้อมูล มีวัตถุประสงค์เพื่อการคำนวณและการประมวลผลของข้อมูลของรายการประจำ ( Transaction Processing ) เพื่อลดค่าใช้จ่ายทางด้านบุคคลากร  
ยุคที่ 2 ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ มีการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการตัดสินใจ ควบคุม ดำเนินการ ติดตามผลและวิเคราะห์ผลงานของผู้บริหารระดับต่างๆ
ยุคที่ 3 การจัดการทรัพยากรสารสนเทศ มีการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อเรียกใช้สารสนเทศที่ช่วยในการตัดสินใจ นำหน่วยงานไปสู่ความสำเร็จ
ยุคที่ 4 ยุคปัจจุบันหรือยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ มีการใช้ระบบคอมพิวเตอร์และระบบการสื่อสารโทรคมนาคมเป็นเครื่องมิอช่วยในการจัดทำระบบสารสนเทศ และเน้นความคิดของผู้ให้บริการสารสนเทศแก่ผู้ใช้อย่างมีประสิทธิภาพเป็นวัตถุประสงค์ที่สำคัญ

ประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา
1. ให้ความรู้ ทำให้เกิดความคิดและความเข้าใจ
2. ใช้ในการวางแผนการบริหารงาน
3. ใช้ประกอบการตัดสินใจ
4. ใช้ในการควบคุมสถานการณ์ หรือเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้น
5. เพื่อให้การบริหารงานมีระบบ

สรุป
การนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ประโยชน์ในวงการศึกษามีปริมาณที่เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากการแพร่กระจายอย่างรวดเร็วของอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศประเภทต่างๆ เช่น ดาวเทียมสื่อสาร ใยแก้วนำแสง อินเตอร์เน็ต ก่อให้เกิดระบบคอมพิวเตอร์สำหรับการบริหารงานในสถานศึกษาต่างๆ เช่น ระบบบริหารจัดการห้องสมุด และระบบคอมพิวเตอร์เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอน เช่น ระบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษายังช่วยให้เกิดการลดความเหลื่อมล้ำของโอกาสทางการศึกษา เป็นเครื่องมือในการพัฒนาคุณภาพทางการศึกษา พัฒนาบุคคลากรทางการศึกษาให้มีความรู้ทางด้านเทคโนโลยี

วันพฤหัสบดีที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

Assignment 1

1.จงอธิบายความหมายของคำต่อไปนี้ ตามความหมายของนักเรียน

- เทคโนโลยี ( Technology ) หมายถึง การใช้เครื่องมือ ความคิด ความรู้ หลักการ ระเบียบวิธีกระบวนการตลอดจนผลงานทางวิทยาศาสตร์ มาประยุกต์ใช้ในระบบงานเพื่อช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการมำงานให้ดียิ่งขึ้นและเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลให้ดียิ่งขึ้น

- เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) หมายถึง เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องตั้งแต่ การเก็บรวบรวมข้อมูล การประมวลผล การแสดงผลลัพธ์ การทำสำเนาและการสื่อสารโทรคมนาคม เพื่อให้ได้สารสนเทศที่เหมาะสมและสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้

- เทคโนโลยีดิจิตอล ( Digital Technology ) หมายถึง การจัดการการสื่อสาร หรือ การขนส่งข่าวสาร เทคโนโลยีสื่อสาร ไม่ว่าจะเป็นทางด้านภาพ เสียง หรือ ทางด้านข้อมูล ได้รับการพัฒนาจนมนุษย์สามารถเชื่อมโยงติดต่อกันได้อย่างสะดวกรวดเร็ว

2. Cyber Bully หมายถึงอะไรหรือปรากฏการณ์ใด จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่่าง

     การกลั่นแกล้งในโลกไซเบอร์ การประทุษร้ายหรือทำให้ผู้อื่นอับอาย ผ่านทางการใช้สื่ออิเล็กทอร์นิกส์ เช่น อีเมล์ การส่งข้อความ บล๊อก เว็บไซต์ ชุมชนออนไลน์ เมสเสจ และ โทรศัพท์ สิ่งที่นักเลงไซเบอร์ตั้งใจคือแสดงความเป็นศัตรูหรือแสดงออกในแง่ลบต่ออีกฝ่ายนั่นเอง
     นักเลงไซเบอร์อาจส่งข้อความให้ร้ายไปยังผู้อื่น หรืือ เขียนคอมเมนต์ในเว็บไซต์ หรือ บล๊อกที่ต้องการต่อว่าการปะทุษร้ายซ้ำๆหลายครั้ง แม้จะดูเป็นบาดแผลที่ห่างไกลหัวใจจนไม่น่าใส่ใจสำหรับผู้ใหญ่ แต่สำหรับเด็กวัยรุ่นถือเป็นการทำร้ายที่รุนแรงมาก ส่งผลให้รู้สึกซึมเศร้า หงุดหงิกอาละวาด และทำร้ายตัวเอง อาจเกิดอารมณ์หุนหันพลันแล่นได้